ปะยาง มอเตอร์ไซค์มีกี่แบบ?

สำหรับผู้ที่ใช้รถมอเตอร์ไซค์นั้น ต้องเคยเจอปัญหาเรื่องยางแตกกันอย่างแน่นอน ซึ่งถือว่าเป็นปัญหาที่หลีกเลี่ยงได้ยากและเกิดขึ้นได้โดยไม่รู้ตัว โดยวีธีการแก้ปัญหายางแตกก็คือ การปะยาง แต่หลายๆ คนนั้น ไม่รู้ว่าการปะยางมีอยู่หลายรูปแบบ ในวันเราจะพาเพื่อนไปดูกันว่า การปะยางมีกี่รูปแบบ และแต่รูปแบบเป็นอย่างไร มีวิธีการปะอย่างไร เราลองไปชมกันเลย

  1. การปะยางแบบสตรีม หรือปะด้วยความร้อน
    การปะยางด้วยวิธีนี้ จะต้องทำการถอดล้อรถมอเตอร์ไซค์ของเราออกมา และทำการปะรอยรั่วหรือรอยแตกจากด้านในด้วยการใช้แผนยาง ที่มีขนาดไม่ใหญ่มาก มีความหนาประมาณ 3 มม. โดยมีตัวทำละลายด้วยความร้อนติดอยู่ที่ด้านหลังของแผ่นยาง ซึ่งหลังจากที่เราเจอรูรั้วแล้ว ต้องเอากระดาษทรายขับพื้นผิวเพื่อทำความสะอาดบริเวณรอบรูรั่วด้านใน แล้วทากาวปะยาง นำมาแผ่นยางที่ใช้ปะแปะลงไปก่อนจะทับด้วยเครื่องทำความร้อน กดทิ้งไว้ วัสดุที่แปะไปนั้น จะลอมละลายติดกับยาง ในไทยนิยมใช้การปะยางแบบนี้มาแล้ว 10 กว่าปี
    เหมาะกับ : การปะเพื่อซ่อมรอยโดนตะปู หรือการฉีกขาดที่ไม่ใหญ่มาก
    ข้อดี : กันลมรั่วได้ดี รับแรงอัดได้
    ข้อเสีย : ไม่สามารถซ่อมแผลด้านนอกได้ ใช้เวลาในการปะนาน หากยางมีความร้อนสูงเป็นเวลานาน รอยปะอาจหลุด
  2. การปะยางแบบคลายสตรีม หรือแบบเย็น
    การปะยางในรูปแบบนี้จะคล้ายกับการปะยางแบบสตรีมหรือแบบร้อน แต่จะไม่ใช้เครื่องทำความร้อน แต่จะเป็นการใช้ชิ้นยางติดกาวปะยาง แล้วรอให้กาวเกือบแห้งก่อนจะนำมาประกบกับรอยรั่ว หลังจากนั้นใช้ค้อนทุบเบาๆ เพื่อไล่อากาศ และทำให้วัสดุทั้งสองติดกันแน่นยิ่งขึ้น
    เหมาะกับ: การปะเพื่อซ่อมรอยโดนตะปู หรือการฉีกขาดที่ไม่ใหญ่มาก
    ข้อดี : กันลมรั่วได้ดี
    ข้อเสีย : มีความคงทนไม่มาก และรับแรงอัดมากไม่ได้
  3. การปะยางแบบแทงหนอนหรือแทงไหม
    การปะยางในรูปแบบนี้ จะต่างจากการปะยางจาก 2 แบบข้างต้น ซึ่งการปะยางแบบแทงหนอนหรือแทงไหม ไม่จำเป็นถอดล้อออกมาทำการปะ แต่จะเป็นการแทงหนอนหรือแทงไหมเข้าไป เพื่ออุดรออยรั่วคาไว้
    เหมาะกับ: การปะเพื่อซ่อมรอยโดนตะปู หรือแผลที่เป็นรูเท่านั้น
    ข้อดี : ไม่ต้องถอดล้อถอดยาง สามารถทำได้เอง และใช้เวลาไม่นาน
    ข้อเสีย : อาจมีอาการลมยางซึมได้

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *